ต้นใบย่านาง Yanang Leaf
มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีสารอาหารมากมาย วิตามินเอ,วิตามิซีโปรตีน ,คาร์โบรไฮเดรด ,ไขมัน, แคลเซียม,ฟอสฟอรัส ,เหล็ก, ไนอาซีน, ใยอาหาร ,ไขมัน, แคลเซียม,ฟอสฟอรัส ,เหล็ก, ไนอาซีน, ใยอาหาร ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์พบว่า น้ำคั้นจากใบย่านาง มีสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ช่วยปรับ ความสดุลของร่างกาย มีฤทธิ์เย็น เด็ดใบมาคั้นน้ำเป็นน้ำซุบ ปรุงอาหารได้หลายอย่าง จะใช้น้ำที่คันผสมลงในอาหาร เช่น แกงอ่อมต้มแชบ ,ซุบหน่อไม้ ประโยชน์ ของสารคลอโรฟีลล์ (Chlorophyll) ที่ร่างกายได้รับ
•ทำให้สดชื่น หายเหนื่อยจากการอ่อนเพลีย
• ลดความดันโลหิต ลดปัญหาเส้นเลือดหัวใจตีบ
• ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
•สร้างภูมิคุ้มกัน โรคภูมิแพ้ แพ้อากาศ
• ขับกรดจากข้อต่อต่างๆ ทำให้อาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว
• ขับสารพิษออกจากร่างกาย สารตกค้างของยาปฏิชีวนะ สารเคมีตกค้างในอาหาร ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานดี สุขภาพแข็งแรง สดชื่นขึ้น
• เพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้ระบบเลือดไหลเวียนดีขึ้น
• ป้องกันการเจริญเติมโตของเซลล์มะเร็ง
• ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, การใช้รักษาแผลอักเสบ, แผลเปื่อย, แผลเรื้อรัง, แผลถลอก, แผลไฟไหม้, เหงือกอักเสบ, แผลในปาก
• บรรเทาอาการปวดศีรษะทั่วไป และปวดศีรษะไมเกรนได้
• ช่วยให้ผู้ที่เป็นต้อกระจกมองเห็นได้ดีขึ้น
• มีสารอาหารบำรุงเส้นผม ทำให้ผมหงอกดำขึ้น ช่วยลดอาการผมร่วง
การทำน้ำย่านาง ล้างใบย่านางให้สะอาด
เด็ก ใช้ใบย่านาง 1-5 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ผู้ใหญ่ ใช้ใบย่านาง 10-20 ใบ ต่อน้ำ 1-3 แก้ว
ใบย่านาง |
ใบย่านางสดโขลกให้ละเอียดแล้วเติมน้ำหรือ ขยี้ใบย่านางกับน้ำหรือ ปั่นในเครื่องปั่นไฟฟ้า การปั่นจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงบ้าง เนื่องจากความร้อนจะไปทำลายความเย็นของใบย่านาง |
ขยี้ใบย่านางกับน้ำแล้วกรองด้วยกระชอน |
ดื่มครั้งละ 1/2 - 1 แก้ว วันละ 2-3 เวลาก่อนอาหารหรือตอนท้องว่าง ทิ้งไว้เกิน 4 ชั่วโมง มักจะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ไม่เหมาะที่จะดื่ม |
บรรจุขวดแช่ในตู้เย็น ควรดื่มให้หมดภายใน 3-7 วัน โดยให้สังเกตุกลิ่นเปรี้ยวเป็นหลักห้ามนำมาดื่ม |
ย่านางเป็นพืชที่เติบโตได้ ในทุกสภาพดิน และสภาพอากาศทุกฤดูกาล ขยายพันธุ์โดยการใช้หัวใต้ดิน เถาว์แก่ที่ติดหัว ปักชำยอด หรือการเพาะเมล็ด รดน้ำให้ชุ่ม